เทศบาลตำบลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
ตำบลภูเวียง เป็นตำบลหนึ่งใน อยู่ห่างจากศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลภูเวียง
ตำบลภูเวียง ประกอบด้วย ๔ หมู่บ้าน
หมู่ที่ ๑ บ้านนาก้านเหลือง
หมู่ที่ ๒ บ้านโคกพัฒนา
หมู่ที่ ๓ บ้านดอนหัน
หมู่ที่ ๔ บ้านภูเวียง
เทศบาลแบ่งเขตการปกครองดังนี้
1) ชุมชนที่ 1 ชุมชนศรีภูเวียง ประกอบด้วย หมู่ที่ 3 (บางส่วน)
2) ชุมชนที่ 2 ชุมชนราชประชาพิทักษ์ ประกอบด้วย หมู่ที่ 2 (บางส่วน) หมู่ที่ 4 (บางส่วน)
3) ชุมชนที่ 3 ชุมชนนาก้านเหลืองดอนหันสามัคคี ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 (บางส่วน)
4) ชุมชนที่ 4 ชุมชนยิ่งเจริญ ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 (บางส่วน) หมู่ที่ 3 (บางส่วน)
5) ชุมชนที่ 5 ชุมชนก้าวหน้าพัฒนา ประกอบด้วย หมู่ที่ 4 (บางส่วน)
6) ชุมชนที่ 6 ชุมชนนาก้านเหลือง-ภูเวียง ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 (บางส่วน)หมู่ที่ 4 (บางส่วน)
สำนักงานเทศบาลตำบลภูเวียง
(ปัจจุบันเป็นเทศบาลขนาดกลาง ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒)
ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
- โทรศัพท์ 043 – 291208 - โทรสาร 043 – 291238
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปของเทศบาลตำบลภูเวียง ฝั่งด้านทิศเหนือของทางหลวงจังหวัด สายกุดฉิม - ภูเวียง จะเป็นที่ราบสูงเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการอำเภอภูเวียง ส่วนราชการต่างๆ และบ้านเรือนของประชาชน มีสระน้ำสาธารณะ 1 แห่ง คือ สระน้ำซำประดู่ ส่วนด้านฝั่งใต้ของทางหลวงจังหวัด สายกุดฉิม - ภูเวียง เป็นที่ราบลุ่ม เป็นที่ตั้งของอาคารพาณิชย์ของเทศบาล ตลาดสดเทศบาล อาคารบ้านเรือนของประชาชน และมีสระน้ำสาธารณะ 1 แห่ง คือ สระน้ำฝายหลวง พื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลจะเป็นพื้นที่ปลูกบ้านเรือนอยู่อาศัย ที่สวน ไร่ นา จะมีน้อย ประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่ สภาพดิน จะเป็นดินร่วนปนดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
อากาศกึ่งร้อนหรือร้อนสลับแห้ง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 28 - 32 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 949.10 มิลลิเมตร ต่อปี
๑.4 ลักษณะของแหล่งน้ำ
1. สระน้ำฝายหลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านภูเวียง ขนาดประมาณ 140 X 240 X 3.00 เมตร มีน้ำตลอดปี
2. สระน้ำฝายซำประดู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านโคกพัฒนา ขนาดประมาณ 150 X 150 X 2.50 เมตรมีน้ำตลอดปี
๑.๕ ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลภูเวียง แต่เดิมคือ สุขาภิบาลบ้านเรือ อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้าที่ 52 เล่ม 73 ตอนที่ 60 วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นสุขาภิบาลภูเวียง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 10 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2542 และเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนฐานะจากสุขาภิบาลภูเวียงมาเป็นเทศบาลตำบลภูเวียง ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 เทศบาลตำบลภูเวียง มีพื้นที่ 1.1286 ตารางกิโลเมตร
ประกอบด้วยหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านนาก้านเหลือง หมู่ที่ 1 ตำบลภูเวียง
2. บ้านโคกพัฒนา หมู่ที่ 2 ตำบลภูเวียง
3. บ้านดอนหัน หมู่ที่ 3 ตำบลภูเวียง
4. บ้านภูเวียง หมู่ที่ 4 ตำบลภูเวียง
โดยมีอาณาเขตดังนี้
ด้านทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากจาก กม.ที่ 19.300 ของทางหลวงจังหวัด สายกุดฉิม - ภูเวียง ไปทางทิศเหนือ 450 เมตร
จากแนวเขตที่ 1 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกถึงจุดที่อยู่ห่างจาก กม. ที่ 18.500 ของทางหลวงจังหวัด สายกุดฉิม - ภูเวียง ไปทางทิศเหนือ 530 เมตร และอยู่ห่างจากฟากตะวันออกของทางหลวงชนบทไปบ้านเรือเป็นระยะ 120 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2
ด้านทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางใต้ผ่านหลัก กม. ที่ 18.500 ของทางหลวงจังหวัด สายกุดฉิม - ภูเวียง ถึงจุดซึ่งอยู่ห่างจากทางหลวงจังหวัด สายกุดฉิม - ภูเวียง ไปทางทิศใต้เป็นระยะ 500 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 3
ด้านทิศใต้ จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงจุดที่อยู่ห่างจาก กม. ที่ 19.300 ของทางหลวงจังหวัด สายกุดฉิม - ภูเวียง ในแนวเส้นตั้งฉากไปทางทิศใต้เป็นระยะ 500 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 4
ด้านทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศเหนือจนบรรจบกับเขตที่ 1
๒.๒ การเลือกตั้ง
เดิมเทศบาลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลภูเวียง ทั้งเขตเทศบาลเป็น ๑ เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาออกเป็น ๒ เขต ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ ๑ ประกอบด้วย ชุมชน 1,2,5,6
เขตเลือกตั้งที่ ๒ ประกอบไปด้วย ชุมชน 3,4,5,6
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลภูเวียงส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตเทศบาลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานเทศบาล เสนอแนะในกิจกรรมของเทศบาลในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาเทศบาลประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ
ปัจจุบันนายกเทศมนตรีและสมาชิกมาจากคำสั่ง คสช. และปัจจุบันยังไม่มีการเลือกตั้ง
๓. ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
อายุและลักษณะโครงสร้าง ประชากรโดยทั่วไป
จำนวนประชากร ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2561 แยกเป็น
ชาย จำนวน 1,499 คน
หญิง จำนวน 1,612 คน
รวม จำนวน 3,111 คน
๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร
แยกตามชั้นอายุ
อายุตั้งแต่ 0 - 10 ปี จำนวน 297 คน
อายุตั้งแต่ 11 - 20 ปี จำนวน 388 คน
อายุตั้งแต่ 21 - 30 ปี จำนวน 417 คน
อายุตั้งแต่ 31 - 40 ปี จำนวน 385 คน
อายุตั้งแต่ 41 - 50 ปี จำนวน 578 คน
อายุตั้งแต่ 51 - 60 ปี จำนวน 442 คน
อายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป จำนวน 604 คน
ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 1 : 1,268 (ตารางกิโลเมตร / คน)
๔. สภาพทางสังคม
๔.๑ การศึกษา
ประชาชนมีสถานศึกษาภายในเขตเทศบาล ดังนี้
ระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล)
1. โรงเรียนอนุบาลเอกชน(โรงเรียนอนุบาลนันทพร) จำนวน 1 แห่ง
มีครู 15 คน แยกเป็น ชาย - คน หญิง 15 คน
มีนักเรียน 185 คน แยกเป็น ชาย 103 คน หญิง 82 คน
2. โรงเรียนอนุบาลเอกชน(โรงเรียนพัฒนาเด็กศรีวิสุทธิ์) จำนวน 1 แห่ง
มีครู 9 คน แยกเป็น ชาย 1 คน หญิง 8 คน
มีนักเรียน 128 คน แยกเป็น ชาย 67 คน หญิง 61 คน
3. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ (วัดมิ่งเมืองพัฒนาราม) จำนวน 1 แห่ง มีครู 4 คน มีนักเรียน 50 คน
ระดับประถมศึกษา
1. โรงเรียนบ้านนาก้านเหลือง มีข้าราชการครู 42 คน แยกเป็นชาย 14 คน หญิง 32 คน
มีพนักงานราชการ 3 คน แยกเป็นชาย - คน หญิง 3 คน
มีลูกจ้างประจำ 1 คน ตำแหน่ง ช่างไม้ 3 ชาย 1 คน หญิง – คน
มีลูกจ้างชั่วคราว 3 คน แยกเป็น ชาย 2 คน หญิง 1 คน
มีนักเรียนชาย 541 คน มีนักเรียนหญิง 568 คน รวม 1,109 คน
2. โรงเรียนอนุบาลภูเวียง มีข้าราชการครู 44 คน แยกเป็นชาย 19 คน หญิง 25 คน
มีพนักงานราชการ ตำแหน่ง ครูผู้สอน 3 คน แยกเป็นชาย - คน หญิง 3 คน
มีลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 6 คน แยกเป็นชาย 3 คน หญิง 3 คน
มีครูอัตราจ้าง ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง 2 คน แยกเป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน
มีพี่เลี้ยงเด็กพิการ แยก ชาย – คน หญิง 1 คน
มีพนักงานธุรการ แยกชาย - คน หญิง 1 คน
มีนักเรียนชาย 593 คน มีนักเรียนหญิง 547 คน รวม 1,140 คน
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน. อำเภอภูเวียง) จำนวน 1 แห่ง
- มีครูผู้สอน จำนวน 49 คน แยกเป็น ชาย 19 คน หญิง 30 คน
- มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,645 คน แยกเป็น
1. ระดับประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 484 คน แยกเป็นชาย 141 คน หญิง 342 คน
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนนักเรียน 861 คน แยกเป็นชาย 432 คน หญิง 425 คน
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนนักเรียน 850 คน แยกเป็นชาย 439 คน หญิง 431 คน
4. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวนนักเรียน 450 คน แยกเป็น ชาย 188 คนหญิง 262 คน
๔.๒ สาธารณสุข
ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้
1. โรงพยาบาลภูเวียง เป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แต่มีเตียงให้บริการผู้ป่วย รวมจำนวน 94 เตียง มีแพทย์ 8 คน ทันตแพทย์ 5 คน เภสัชกร 7 คน พยาบาลวิชาชีพ 56 คน ลูกจ้างประจำ 16 คน พนักงานราชการ 3 คน อัตราเจ้าหน้าที่อื่นๆ 31 คน ลูกจ้างชั่วคราว 110 คน รวม 236 คน การใช้บริการของผู้ป่วยเฉลี่ยต่อวัน 295 คน
2. คลินิกเอกชน มีจำนวน 4 แห่ง
3. ร้านขายยา มีจำนวน 4 แห่ง
๔.๓ อาชญากรรม
เทศบาลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน ซึ่งเทศบาลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางเทศบาลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
๔.๔ ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรภูเวียงได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
๔.๕ การสังคมสังเคราะห์
เทศบาลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
(๑) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
๔. ตั้งโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน
๕. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
๖. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน
๕. ระบบบริการพื้นฐาน
ในเขตเทศบาลมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้
๕.๒ การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ เทศบาลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน
๕.๓ การประปา
ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 96.65 มีน้ำประปาใช้อย่างทั่วถึง
1) จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา 1,414 ครัวเรือน
แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา คือ อ่างเก็บน้ำโสกขุมปูน บ้านหนองหญ้าปล้อง
แหล่งน้ำดิบสำรอง คือ ลำห้วยบอง บ้านหนองหญ้าปล้อง และอ่างเก็บน้ำโสกรวก
บ้านสงเปือย
๕.๔ โทรศัพท์
ประกอบด้วยที่ทำการชุมสายโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 1 แห่ง ประชาชนมีโทรศัพท์ใช้ประมาณร้อยละ 80 และตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 13 ตู้
๕.๕ ไปรณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ประกอบด้วยที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง ซึ่งให้บริการประชาชน จำนวน 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลภูเวียง ตำบลสงเปือย ตำบลนาชุมแสง ตำบลบ้านเรือ ตำบลทุ่งชมพู ตำบลนาหว้า ตำบลหว้าทอง ตำบลดินดำ ตำบลหนองกุงธนสาร ตำบลเมืองเก่าพัฒนา ตำบลในเมือง ตำบลกุดขอนแก่น ตำบลหนองกุงเซิน ตำบลเขาน้อย และมีตู้ไปรษณีย์ที่อยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 13 ตู้
๕.๖ เส้นทางคมนาคม
การคมนาคม / ขนส่ง / การจราจร
การคมนาคม มีถนนสายต่างๆ ดังนี้
ถนนสายหลัก คือ ถนนหลวงจังหวัด สายกุดฉิม - ภูเวียง หมายเลข 2038 เป็นถนนเชื่อมต่อจากถนนหลวงแผ่นดิน หมายเลข 12 (ขอนแก่น - ชุมแพ) โดยเป็นถนนลาดยางตัดผ่านใจกลางเทศบาล
ถนนสายรอง สภาพเป็นถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย คือ
1. ถนน รพช. ภูเวียง - หนองแก เป็นถนนเชื่อมต่อทางระหว่างอำเภอภูเวียงกับเทศบาลตำบลหนองแก อำเภอหนองเรือ โดยผ่าน อบต.สงเปือย อบต.นาชุมแสง อบต.โนนสะอาด ระยะทาง 20 กิโลเมตร
2. ถนน รพช. ภูเวียง - บ้านเรือ เป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างเทศบาลตำบลภูเวียง กับ อบต.บ้านเรือ ระยะทาง 3 กิโลเมตร
นอกจากนั้นเป็นถนนภายในเขตเทศบาล เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กประมาณ 69.81 % ที่เหลือเป็นถนน เสริมผิวจราจรแอสท์ฟัลติกคอนกรีต 24.53 % ถนนลูกรัง 5.66 % รวมถนน 53 สาย ระยะทางทั้งสิ้น 13.71 กิโลเมตร
การขนส่ง
อำเภอภูเวียง มีสถานีขนส่ง 1 แห่ง ที่อยู่ในเขต อบต.สงเปือย ห่างจากเทศบาลตำบลภูเวียง ประมาณ 300 เมตร จึงเป็นแหล่งคมนาคมขนส่ง ดังนี้
รถประจำทางปรับอากาศ กรุงเทพ - หนองบัวลำภู โดยจอดพักที่สถานีขนส่งภูเวียง วันละประมาณ 29 เที่ยว/วัน , กรุงเทพฯ – ศรีเชียงใหม่(ปอ.1) 30 เที่ยว/วัน , กรุงเทพฯ – ศรีเชียงใหม่(ปอ.2) 20 เที่ยว/วัน
รถประจำทางไม่ปรับอากาศ ประกอบด้วย
ขอนแก่น - หนองบัวลำภู วันละ 12 เที่ยว/วัน
ขอนแก่น - ศรีบุญเรือง วันละ 15 เที่ยว/วัน
ภูเวียง - นากลาง วันละ - เที่ยว/วัน
ภูเวียง - ชุมแพ วันละ 4 เที่ยว/วัน
ภูเวียง - หนองขาม วันละ 5 เที่ยว/วัน
ภูเวียง - โนนอุดม วันละ 12 เที่ยว/วัน
ภูเวียง - หนองกุงเซิน วันละ 6 เที่ยว/วัน
ภูเวียง - กุดขอนแก่น วันละ 2 เที่ยว/วัน
ภูเวียง - ขนวน วันละ 1 เที่ยว/วัน
ภูเวียง - กุดดุก วันละ 2 เที่ยว/วัน
ภูเวียง - โปร่งสังข์ วันละ - เที่ยว/วัน
ภูเวียง - กุดแคน วันละ - เที่ยว/วัน
ภูเวียง - คึมชาติ วันละ 1 เที่ยว/วัน
รถประจำทางปรับอากาศ ขอนแก่น - หนองบัวลำภู วันละ 20 เที่ยว/วัน
รถประจำทางปรับอากาศ ขอนแก่น - หนองบัวลำภู จอดพักสถานีขนส่งภูเวียง วันละ 12 เที่ยว/วัน
๖. ระบบเศรษฐกิจ
๖.๑ การเกษตร
การเกษตรกรรมส่วนมากจะเป็นการทำเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและ เพราะด้วยพื้นที่ของเขตเทศบาลมีขนาดกลาง เป็นชุมชนเมือง จะมีแต่ที่ตั้งของส่วนราชการ สำนักงาน ห้างร้าน บริษัท อาคาร และบ้านเรือนที่พักอาศัย
๖.๒ การประมง
(ในเขตเทศบาลไม่มีการประมง)
๖.๓ การปศุศัตว์
ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในครัวเรือน จะมีส่วนน้อยที่เลี้ยงเพื่อการค้า สัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุกร เป็ด ไก่
๖.๔ การบริการ
1. ร้านค้าเบ็ดเตล็ด จำนวน 50 แห่ง
2. ตลาดสดเทศบาล จำนวน 1 แห่ง
3. ร้านอาหาร จำนวน 30 แห่ง
4 ร้านขายยา จำนวน 4 แห่ง
5. ธนาคาร จำนวน 2 แห่ง
๖.๕ การท่องเที่ยว
เทศบาลตำบลภูเวียง ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่เป็นเส้นทางผ่านไปยังแหล่งท่องเที่ยว คือ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์และซากกระดูกไดโนเสาร์บนอุทยานแห่งชาติภูเวียง สถานที่พักผ่อนในเทศบาลมี 2 แห่ง คือ สระน้ำฝายหลวงและสระน้ำฝายซำประดู่
๖.๖ อุตสาหกรรม
1) โรงเลื่อยไม้ /โรงอบไม้ จำนวน 1 แห่ง
2) โรงสีข้าว จำนวน 4 แห่ง
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
1. อาคารพาณิชย์หน้าที่ว่าการอำเภอ จำนวน 34 คูหา รายได้ปีละ 163,200 บาท
2. อาคารพาณิชย์บริเวณสถานีขนส่งเก่า จำนวน 78 คูหา รายได้ปีละ 390,600 บาท
3. ที่ดินบ้านภูเวียง/ราชพัสดุ จำนวน 87 ราย รายได้ปีละ 491,724 บาท
4. อาคารไม้บริเวณข้างที่ประปา จำนวน 22 ห้อง รายได้ปีละ - บาท
5. แผงลอย จำนวน 16 ห้อง รายได้ปีละ 10,368 บาท
6. ส้วมสาธารณะข้างแผงลอย จำนวน 1 แห่ง รายได้ปีละ 3,600 บาท
7. ส้วมสาธารณะในอาคารตลาดสดเทศบาล จำนวน 1 แห่ง รายได้ปีละ 102,000 บาท
8. การดำเนินกิจการในอาคารตลาดสด จำนวน 1 แห่ง รายได้ปีละ 1,442,772 บาท
9. การดำเนินกิจการตลาดสด(ตั๋วตลาด) จำนวน 1 แห่ง รายได้ปีละ 657,000 บาท
10. การดำเนินกิจการโรงฆ่าสัตว์ จำนวน 1 แห่ง รายได้ปีละ - บาท
๖.๘ แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ ๑๕ – ๖๐ ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ ๙๕ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ ๗๓.๙๙ ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้
๗. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
๗.1 ข้อมูลด้านการเกษตร
(ในเขตพื้นที่เทศบาลเป็นเขตชุมชนเมือง ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตร)
๘. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
๘.๑ การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัด 3 แห่ง คือ
1) วัดศรีภูเวียง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านดอนหัน มีพระภิกษุ 9 รูป สามเณร - รูป
2) วัดโพธิ์ชัย ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านนาก้านเหลือง มีพระภิกษุ 5 รูป สามเณร - รูป
3) วัดมิ่งเมืองพัฒนาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านภูเวียง มีพระภิกษุ 8 รูป สามเณร 48 รูป
๘.๒ ประเพณีและงานประจำปี
ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญ คือ
1) งานทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่
2) งานประเพณีวันสงกรานต์ และพิธีบวงสรวงเจ้าจอมปากช่อง , ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
3) งานประเพณีถนนข้าวปุ้น
4) งานบุญเบิกบ้านหมู่ที่ 1,2,3,4
5) งานงิ้วอำเภอภูเวียง
6) งานประเพณีสรงน้ำพระเถระ
๘.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ ๙๐ % พูดภาษาอิสาน
๙. ทรัพยากรธรรมชาติ
๙.๑ น้ำ ที่ใช้ เป็นน้ำที่ได้จากประปาส่วนภูมิภาค
๙.๒ ป่าไม้ ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้
๙.๓ ภูเขา ในเขตเทศบาลไม่มีภูเขา
************************************